วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ๒๕๕๘

 

ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร  คืออะไรกัน ?
                
                     คือแหล่งศึกษาเรียนรู้ของเกษตรกรและประชาชนที่สนใจ เรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร  ซึ่งศูนย์จัดตั้งขึ้นเป็นศูนย์กลางของชุมชน โดยใช้หลักการของโซนนิ่งร่วมกับความต้องการของเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกร ได้ทำการผลิตพืชเศรษฐกิจที่เป็นสินค้าของตนเอง ให้เหมาะสมกับเขตพื้นที่นั้น ๆ คือเขตนั้นเหมาะสมที่จะผลิตสินค้านั้นหรือไม่ ด้วยว่าปัญหาการผลิตสินค้าเกษตรนั้นยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

สาเหตุที่พบก็คือ เกษตรกรส่วนหนึ่งใช้พื้นที่ที่มีความเหมาะสมน้อย หรือไม่เหมาะสมเลย มาใช้ปลูกพืชที่ตนเองชอบ อาจจะปฏิบัติตาม ๆ กันมาตามกระแสนิยม  ผลผลิตจึงอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ต้นทุนสูง  ทำให้ในฤดูกาลหนึ่ง ๆ ผลผลิตออกมามากเกินความต้องการ ผลตามมาคือราคาต่ำ ในขณะที่ในช่วงการผลิตลงทุนสูงไปแล้ว ซึ่งแน่นอนรัฐก็ต้องยื่นมือมาช่วยเหลือ จะด้วยวิธืการแทรกแซงราคาหรืออะไรก็แล้วแต่


ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร

                 จึงเป็นเครื่องมือในการช่วยเกษตรกรในชั้นต้น เพื่อให้รู้แนวทางการลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ การพัฒนาเพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิต นี่พูดถึงกรณีที่พืชนั้นปลูกอยู่ในเขตพื้นที่      ที่เหมาะสมแล้ว  แต่ในกรณีที่ปลูกในเขตที่ไม่เหมาะสมนั้น เกษตรกรต้องยอมรับความเป็นจริงว่าทำไป
ก็รังแต่จะขาดทุน เสียแรงเปล่าก็ต้องปรับเปลี่ยนไปทำอย่างอื่นดีกว่า ในการปรับเปลี่ยนก็ต้องวิเคราะห์ความต้องการของตลาด คือผลิตออกมาแล้วต้องขายได้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงบริหารจัดการพื้นที่โดยมีแนวคิดของการใช้ประโยชน์ในที่ดินของประเทศให้ได้ประโยชน์สูงสุด ที่เรียกว่า Zoning ก็ค่อยว่ากันในโอกาสต่อไป

เรื่องของศูนย์การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรนั้น เป็นเรื่องของเกษตรกรช่วยเกษตรกรด้วยกัน โดยมีนักส่งเสริมการเกษตรที่ทำงานอยู่ในพื้นที่ ทำหน้าที่ประสานเป็นผู้จัดการพื้นที่ โดยก่อนมาเป็นศูนย์ฯนั้น นักส่งเสริมการเกษตรจะร่วมกับชุมชนนั้น ๆ ทำการวิเคราะห์ข้อมูล ค้นหาศักยภาพพื้นที่ว่า พื้นที่นี้เหมาะกับสินค้าหรือพืชอะไร  โดยใช้ระบบส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ที่เรียกว่า MRCF เป็น

เครื่องมือในการวิเคราะห์ โดยมีการจัดการข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์พื้นที่ที่เรียกว่า Mapping ( M ) จัดทำข้อมูลให้ปรากฎชัดเจนอยู่บนแผนที่ โดยมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคี หรือหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆที่อยู่ในพื้นที่ร่วมกันดำเนินการ ที่เรียกว่า Community Participation ( C ) เครื่องมือนี้ที่มีดำเนินการอยู่เดิมที่เป็นของชุมชน ก็คือ “ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล” นั่นเอง การประสานงานของ ชุมชน ภาคี องค์กร ผู้มีส่วนร่วม ก็จะใช้เทคโนโลยีที่ประสานงานด้วยระยะสื่อระยะไกล เช่น โทรศัพท์ แฟกซ์ ไลน์ เฟสบุ๊ค เว็บไซต์ ฯลฯ โดยเรียกว่า Remote Sensing ( R )

เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว ก็จะได้จุดพื้นที่ในการส่งเสริมการผลิตสินค้าที่เหมาะสมกับพืชนั้น ๆ แล้ว นั่นคือการได้มาซึ่ง Specific Field Service ( F ) คือพื้นที่เป้าหมายที่จะเข้าไปทำงานแบบเจาะจง และศูนย์ฯก็จะเกิดขึ้นที่นี่ ซึ่งมีแปลงที่ประสบความสำเร็จ มีเกษตรกรเจ้าของแปลง มีฐานการเรียนรู้ที่เกษตรกรรายอื่น ๆ มาเรียนรู้ศึกษาเป็นตัวอย่างได้ ได้เห็นของจริง เพื่อนำไปปรับใช้ในการผลิตสินค้านั้นในแปลงของตนเองให้มีประสิทธิภาพต่อไป

 

                                                                                                              ชาญวิทย์ สมศักดิ์ : เขียน

 

<< กลับหน้าหลัก

ไม่มีความคิดเห็น: