วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558

การใช้ราไตรโคเดอร์มาชนิดสดผสมกับปุ๋ยอินทรีย์

วิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด
การใช้ราไตรโคเดอร์มาชนิดสดผสมกับปุ๋ยอินทรีย์
ใช้เชื้อสดผสมกับรำข้าวละเอียดและปุ๋ยอินทรีย์(ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอกเก่า)ในอัตราส่วน1:4:100โดยน้ำหนักโดย
- เติมรำข้าวเล็กน้อยลงไปในถุงเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด คลุกเคล้าและบีบให้เชื้อที่เกาะเป็นก้อนแตกออก ต่อจากนั้นจึงเทเชื้อที่คลุกรำข้าวแล้วผสมกับรำข้าวที่เหลือให้ครบตามจำนวน แล้วคลุกให้เข้ากันอีกครั้ง
- นำหัวเชื้อสดที่ผสมกับรำข้าว(อัตราส่วน 1:4โดยน้ำหนัก) ผสมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก100กิโลกรัม คลุกเคล้าจนเข้ากันอย่างทั่วถึง อาจพรมน้ำพอชื้นเพื่อลดการฟุ้งกระจาย
เมื่อได้ส่วนผสมของเชื้อสดกับปุ๋ยอินทรีย์แล้วสามารถนำไปใช้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
การผสมกับวัสดุปลูกสำหรับการเพาะกล้าในกระบะเพาะเมล็ดหรือถุงเพาะชำ
ใส่ส่วนผสมของเชื้อสด ผสมดินปลูกอัตรา 1:4 โดยปริมาตร(20%)นำดินปลูกที่ผสมด้วยส่วนผสมของเชื้อสดแล้วใส่กระบะเพาะเมล็ด ถุง หรือกระถางปลูก
การใส่หลุมปลูกพืช
- ใช้ส่วนผสมของเชื้อสด อัตรา 10-20กรัม(1-2ช้อนแกง) ต่อหลุม โรยในหลุมก่อนการหยอดเมล็ดพืช
- ใช้ส่วนผสมของเชื้อสดอัตรา10-20กรัมคลุกเคล้ากับดินในหลุมปลูกพืช ถ้าหลุมใหญ่อาจใช้50-100กรัม/หลุม
การใช้เชื้อหว่านในแปลงปลูก
หว่านส่วนผสมเชื้อสดลงบนแปลงปลูกก่อนการปลูกพืช ด้วยอัตรา 50-100กรัมต่อตารางเมตร หว่านส่วนผสมเชื้อสดลงบนแปลงปลูก ขณะที่พืชกำลังเจริญเติบโต และกำลังมีโรคระบาด ด้วยอัตรา 50-100ต่อตารางเมตร
การใช้เชื้อหว่านใต้ทรงพุ่มหรือโรยโคนต้นพืช
หว่านส่วนผสมเชื้อสดทั่วบริเวณใต้ทรงพุ่มจนถึงรอบชายพุ่มอัตรา50-100กรัมต่อตารางเมตร หรือโรยส่วนผสมเชื้อสด บริเวณโคนต้นพืชกรณีที่เกิดโรคโคนเน่า ด้วยอัตรา10-20กรัมต่อต้น
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดคลุกเมล็ดพืช
ใส่เชื้อสดลงในถุงพลาสติกที่จะใช้คลุกเมล็ดอัตรา 10 กรัม (1ช้อนแกง) ต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม เติมน้ำ 10 ซีซี บีบเชื้อสดให้แตกตัวเทเมล็ด 1 กิโลกรัมลงในถุงแล้วเขย่าให้เชื้อสดคลุกเคล้าจนติดผิวเมล็ด นำเมล็ดออกผึ่งลมให้แห้งหรือใช้ปลูกได้ทันที
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดผสมกับน้ำ
ในกรณีที่ไม่สะดวกในการจัดหาปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และรำข้าวหรือกรณีที่ต้องการใส่เชื้อราไตรโคเดอร์มาลงดินโดยไม่ประสงค์จะใส่ปุ๋ยอินทรีย์และรำข้าวลงไปในดินด้วย เนื่องจากไม่อยู่ในช่วงที่เหมาะสมสำหรับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ สามารถใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดที่เตรียมไว้ผสมกับน้ำ ในอัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรหรือ 250 กรัม(เชื้อสด 1 ถุง)ต่อน้ำ 50ลิตรใช้น้ำเชื้อที่เตรียมได้ฉีดพ่นลงดินด้วยอัตรา 10-20 ลิตรต่อ100 ตารางเมตรสำหรับขั้นตอนการใช้เชื้อสดผสมน้ำมีดังนี้
นำเชื้อสดมา 1 ถุง(250กรัม) เติมน้ำลงไปในถุง 300มิลลิลิตร(ซีซี)หรือพอท่วมตัวเชื้อแล้วขยำเนื้อข้าวให้แตกออกจนได้น้ำเชื้อสีเขียวเข้ม
กรองน้ำเชื้อด้วยผ้าหรือกระชอนตาถี่ ล้างกากที่เหลือบนกระชอนด้วยน้ำอีกจำนวนหนึ่งจนเชื้อหลุดจากเมล็ดข้าวหมด เติมน้ำให้ครบ 50 ลิตร ก่อนนำไปใช้
1. การฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงในกระบะเพาะกล้า กระถาง หรือถุงปลูกพืช
1.1 ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงบนกระบะเพาะหลังจาดหยอดเมล็ดแล้วหรือในระหว่างที่ต้นกล้ากำลังเจริญเติบโตโดยฉีดให้ดินเปียกฉุ่ม
1.2 ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงในถุงหรือกระถางปลูกพืช ตั้งแต่เริ่มปลูกหรือในระหว่างที่พืชกำลังเจริญเติบโตโดยฉีดให้ดินเปียกชุ่ม
2. การฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงในหลุมปลูกพืช
2.1 ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงในหลุมปลูกพืชหลังจากเพาะเมล็ดแล้ว โดยฉีดพ่นให้ดินเปียกชื้น
2.2 ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงในหลุมปลูกพืชหลังย้ายพืชลงปลูกแล้ว โดยฉีดให้ดินเปียกชื้น
3. การฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงบนแปลงปลูกพืช
3.1 ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงบนแปลงพืชหลังจากหว่านเมล็ด และคลุมแปลงด้วยฟางแล้วในอัตรา 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร และให้น้ำแก่พืชทันที
3.2 ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงบนแปลงปลูก อัตรา 10-20 ลิตร/100ตารางเมตร ก่อนคลุมแปลงด้วยพลาสติกดำ
3.3 กรณีที่พืชกำลังเจริญเติบโตอยู่ให้ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงบนแปลง ในอัตรา 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร
4. การฉีดพ่นน้ำเชื้อสดโคนต้นพืชและใต้ทรงพุ่ม
4.1 ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงตรงโคนต้นพืช และบนดินบริเวณรอบโคนต้นพืช โดยให้ผิวดินเปียกชื้น
4.2 ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงบนดิน ใต้บริเวณใต้ทรงพุ่มและขอบชายพุ่ม ให้ดินพอเปียกชื้น
คำเตือน : – ควรฉีดพ่นในเวลาแดดอ่อน หรือเวลาเย็นกรณีที่บริเวณที่ฉีดพ่นไม่มีร่มเงาจากพืชเลย
- ถ้าดินบริเวณที่จะฉีดพ่นเชื้อแห้งมาก ควรให้น้ำพอให้ดินมีความชื้นเสียก่อน หรือให้น้ำทันทีหลังฉีดพ่น เพื่อให้น้ำพอเชื้อซึมลงดิน
ไม้ผล
ทุเรียน ส้ม มะนาว ฝรั่ง มะละกอ ฯลฯ
โรคพืช/เชื้อ/สาเหตุ
โรครากเน่าและโคนเน่า – เชื้อราไฟทอฟธอรา พิเทียม ฟิวซาเรียม
อัตราและวิธีการใช้
รองก้นหลุมก่อนปลูก 50-100 กรัม/หลุม
หว่านลงดินใต้ทรงพุ่ม 50-100 กรัม/ตารางเมตร
ฉีดพ่นลงดิน 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร
พืชผักต่างๆ
มะเขือ เทศ พริก โหระพา กะเพรา หน่อไม้ฝรั่ง ขึ้นฉ่าย ตระกูลกะหล่ำ หอมใหญ่ ผักชีฝรั่ง ตระกูลถั่ว ตระกูลแตง กระชาย กระเจี๊ยบเขียว ขิง เผือก ฯลฯ
โรคพืช/เชื้อ/สาเหตุ
โรคเน่าระดับดิน
โรคกล้าเน่ายุบ
โรครากเน่า โรคลำต้นเน่า
โรครากและโคนเน่า
โรคเหี่ยว
เชื้อราพิเทียม สเคลอโรเทียม ไรซอคโทเนีย ฟิวซาเรียม
อัตราและวิธีการใช้
ผสมดินโดยใส่ส่วนผสมของเชื้อสด : ดินปลูก อัตรา 1:4 โดยปริมาตร (20%) เพาะกล้า/เมล็ด
คลุกเมล็ดขนาดเล็กใช้เชื้อสด 1 ช้อนแกง/เมล็ด 1 กก.
คลุกเมล็ดขนาดใหญ่ใช้เชื้อ 1-2 ช้อนแกง/เมล็ด 1 กก.
หว่านในแปลงปลูก 50-100 กรัม/ตารางเมตร
รองก้นหลุมและใส่โคนต้นเป็นโรค 10-20 กรัม/หลุม
ฉีดพ่นหลุมปลูกและโคนต้น20-50 ซีซี/หลุม
ฉีดพ่นกระบะเพาะกล้าและแปลงปลูกพืช 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร
ไม้ดอกไม้ประดับ
ดาวเรือง มะลิ เยอบีร่า ชบา เบญจมาศ ตระกูลฟิโลเดนดรอน ตระกูลขิง ซ่อนกลิ่น กล็อกซีเนีย กล้วยไม้
โรคพืช/เชื้อ/สาเหตุ
โรคเหี่ยว โรคกล้าเน่ายุบ
โรคเน่าดำ
เชื้อราฟิวซาเรียม ไฟทอฟธอรา พิเทียม สเคลอโรเทียม ไรซอคโทเนีย
อัตราและวิธีการใช้
ผสมดินโดยใส่ส่วนผสมของเชื้อสด : ดินปลูกอัตรา 1:4 โดยปริมาตร (20%) เพาะกล้า/เมล็ด
หว่านในแปลงเพาะกล้า 50-100 กรัม/ตารางเมตร
โรยในกระถาง ถุงเพาะ 10-20 กรัม/กระถาง/ถุง
รองก้นหลุมก่อนปลูก 10-20 กรัม/หลุม
ฉีดพ่นในกระบะเพาะ แปลงเพาะกล้า แปลงปลูก 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร
ฉีดพ่นในกระถาง ถุงเพาะกล้า ก่อนย้ายกล้าปลูก 20-50 ซีซี/กระถาง/ถุง/หลุม
พืชไร่
ข้าวบาร์เลย์ ทานตะวัน ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ฯลฯ
โรคพืช/เชื้อ/สาเหตุ
โรคกล้าเน่ายุบ โรคโคนเน่า – เชื้อราสเคลอโรเทียม สเคลอโรเทียม พิเทียม ไรซอคโทเนีย
อัตราและวิธีการใช้
คลุกเมล็ดก่อนปลูกเมล็ดขนาดเล็ก 1 ช้อนแกง/ เมล็ด 1 กก.
คลุกเมล็ดก่อนปลูกเมล็ดขนาดใหญ่ 1-2 ช้อนแกง/เมล็ด 1 กก.
การนำเชื้อราไตรโคเดอร์มาสดไปใช้ประโยชน์
สำหรับใช้แช่เมล็ดพันธุ์ใช้ได้กับเมล็ดพันธุ์พืชทุกชนิด เช่น มะเขือเทศ พริก เป็นต้น
ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาสด ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ + น้ำครึ่งแก้ว จะได้นำเชื้อราไตรโคเดอร์มาสดสีเขียว
ใช้ผ้าห่อเมล็ดพันธุ์ไว้แล้วแช่ลงในแก้วน้ำเชื้อราไตรโคเดอร์มานานประมาณ 5-10 นาที ก่อนนำเมล็ดพันธุ์ไปเพาะปลูกตามปกติ
สำหรับการละลายน้ำแล้วรดพืชผักโดยเฉพาะให้ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาสดในอัตรา เชื้อฯสด 1 ถุง+น้ำ 50 ลิตร แล้วฉีดพ่นตามปกติ ถ้าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต้องฉีดพ่นในช่วงเย็น ที่แดดร่มแล้ว
ประโยชน์  เชื้อราไตรโคเดอร์มา คือ ป้องกันโรครากเน่า โคนเน่า ในพืชผักทุกชนิด อันมีสาเหตุมาจากเชื้อราที่อยู่ในดิน
ข้อแนะนำหากใช้รดต้นพืชร่วมกับปุ๋ยเคมี ต้องใช้ฉีดพ่นเชื้อฯหลังจากฉีดสารเคมีแล้วประมาณ 15-20 นาที เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
วิธีการนำไปใช้
ใช้คลุกเคล้าเมล็ดพันธุ์  ใช้ป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อโรคที่ติดมากับเมล็ด โดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดผงแห้งหรือเชื้อสด(ไม่ผสมส่วนผสมใดๆ)  10-20 กรัม  ต่อเมล็ดพืช 1 กิโลกรัม อาจเติมน้ำสะอาดหรือสารจับติด(Sticker) ลงไปเล็กน้อย เพื่อช่วยให้ผงเชื้อจับติดเมล็ดได้ดีขึ้น
การใส่ลงในดินโดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่คลุกเคล้ากับส่วนผสมตามอัตราส่วนและหมักเรียบร้อยแล้วใส่ลงดินโดยตรงเพื่อให้เจริญและแพร่พันธุ์ เพิ่มปริมาณ เพื่อควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชที่อยู่ในดิน ทำได้หลายวิธี ดังนี้
การใช้ในแปลงเพาะกล้า
-หว่านส่วนผสมของเชื้อราไตรโคเดอร์มาบนแปลงเพาะกล้าในอัตรา 50-100 กรัมต่อตารางเมตร คลุกเคล้าให้เข้ากับดินลึก 5-10 เซนติเมตรก่อนเพาะกล้าหรือหว่านเมล็ด แล้วใช้เศษซากพืชหรือฟางคลุมบางๆเพื่อรักษาความชื้นแล้วจึงรดน้ำ
การใช้กับพืชปลูกใหม่หรือใช้รองก้นหลุม
-ใช้ส่วนผสมของเชื้อราไตรโคเดอร์มาอัตรา 50-100 กรัมต่อหลุมหรือต่อต้น
-กรณีเป็นไม้ผล ไม้ยืนต้น ใช้ส่วนผสม 3-5 กิโลกรัม / หลุม คลุกเคล้ากับดินก้นหลุม แล้วจึงนำพืชลงปลูก ใช้เศษพืชหรือฟางข้าวคลุมบางๆแล้วรดน้ำ เพื่อรักษาความชื้น
การใช้ในการผสมดินปลูก
-ใช้ส่วนผสมของเชื้อราไตรโคเดอร์มา คลุกเคล้ากับดินผสมพร้อมปลูกในอัตรา 15 กิโลกรัมต่อดินผสม 1.0-1.5  ลูกบาศก์เมตร  คลุกเคล้าให้เข้ากัน ดินที่ผสมแล้วควรใช้ให้หมดในคราวเดียว
การใช้กับพืชที่ปลูกแล้ว
-ในกรณีไม้ผล ไม้ยืนต้น เพื่อให้เชื้อราไตรโคเดอร์มาสัมผัสดินทั่วถึง ควรทำความสะอาดบริเวณโคนต้นหรือใต้ทรงพุ่มก่อนหว่านส่วนผสมของเชื้อราไตรโคเดอร์มาในอัตรา 50-100 กรัม/ตารางเมตร แล้วคลุมด้วยเศษพืชหรือฟางข้าวบางๆจึงรดน้ำให้ชุ่ม
-ถ้าเป็นพืชผักหรือไม้ดอกไม้ประดับหรือพืชผักที่มีลำต้นขนาดเล็ก ให้หว่านส่วนผสมของเชื้อราไตรโคเดอร์มารอบโคนต้น ในอัตรา 10-15 กรัม/ต้น  หรือหว่านให้ทั่วแปลงอัตรา 50-100 กรัม/ตารางเมตร แล้วพรวนดินรดน้ำให้ชุ่ม
การฉีดพ่นหรือราดลงดิน
-ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่อยู่ในรูปผงหรือเกล็ดผสมน้ำอัตรา 50-100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
-กรณีเป็นเชื้อสดที่ผลิตรจากข้าว ให้ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา อัตรา 1 กิโลกรัม หรือ 4 ถุง + น้ำ 200 ลิตร แล้วกรองเอาเฉพาะน้ำไปฉีดพ่นหรือราดดิน เหมาะกับแปลงเพาะกล้า
ข้อแนะนำและการปฏิบัติ
ในพืชผักหรือพืชอายุสั้น ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาทุกครั้งที่ปลูก สำหรับพืชผักที่ให้ผล เช่น พริก มะเขือ พืชตระกูลแตงต่างๆควรใส่อีกครั้งในระยะเริ่มติดผล
พื้นที่ปลูกพืชเป็นประจำหรือพืชยืนต้น  ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา  ปีละ  2  ครั้ง  หรือทุกๆ 6 เดือน เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณเชื้อราไตรโคเดอร์มาในดินให้มีอยู่ตลอดไป
ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดเชื้อราในพื้นที่ที่ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ในกรณีที่มีความจำเป็น ควรเว้นระยะเวลาการใช้ห่างกันอย่างน้อย 7-10 วัน
ส่วนผสมของเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ผสมพร้อมใช้แล้ว ควรใช้ให้หมดในคราวเดียว
เพื่อให้การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มามีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ควรปรับระดับความเป็นกรดด่างของดินให้อยู่ระหว่าง 5.5-6.5
ควรใช้เชื่อราไตรโคเดอร์มา ในช่วงเวลาที่มีแดดอ่อนในตอนเย็น เพื่อลดการถูกแสงแดดเผาทำลายเชื้อในตอนกลางวัน
ควรใช้เชื้อราไตรโคเดร์มาเพื่อการป้องกันการเกิดโรค จะเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง และดีที่สุด
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดควบคุมโรคพืชต่างๆ
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาสดคลุกเมล็ด อัตรา 1-2 ช้องแกง/เมล็ด 1 กิโลกรัม  » คลุกเมล็ด
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาสดผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา เชื้อสด รำละเอียด ปุ๋ยคอก (1:4:100)
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาสดผสมน้ำฉีดพ่น อัตรา เชื้อสด 500 กรัม/น้ำ 100 ลิตร  »  ฉีดพ่นการเก็บรักษาเชื้อราไตรโคเดอร์มาสด
ในการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด  หลังจากใส่เชื้อลงถุงก้อนเชื้อ จะใช้เวลา 7-10 วัน เชื้อจึงเจริญจนเต็มถุง มีสีเขียวสดพร้อมที่จะนำไปใช้ในการควบคุมโรคพืชได้
แต่ถ้ายังไม่ได้นำไปใช้ควรเก็บในที่ร่ม อุณหภูมิห้องปกติ จะเก็บไว้ได้นาน 15-20 วัน หลังจากนี้เชื้อจะเริ่มแก่มีสีขาวฟู เสื่อมคุณภาพ
ถ้าเก็บรักษาในที่เย็นหรือตู้เย็น อุณหภูมิ 7-10 องศาเซลเซียส สามารถเก็บได้นานถึง 1-3 เดือน

 

ที่มา : http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=91848.0

<< BACK

ไม่มีความคิดเห็น: