วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558

ปลูก “พืชใช้น้ำน้อย” หลังฤดูทำนา ลดความเสี่ยง เสริมรายได้

 

“ในช่วงหน้าแล้งพืชที่ปลูกหลังการทำนาควรเป็นพืชที่มีอายุสั้นมาก ๆ และใช้น้ำน้อย เช่น ถั่วเขียว เป็นพืชที่มีศักยภาพ อายุการเก็บเกี่ยวครั้งแรก 65-75 วัน โดยหลังเกี่ยวข้าวเสร็จเกษตรกรสามารถหว่านเมล็ดถั่วเขียว ขณะที่ผืนดินยังมีความชื้นอยู่ได้

จากปัญหาความแห้งแล้งของอากาศอันเกิดจากการที่มีฝนน้อยกว่าปกติ หรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลเป็นระยะเวลานานกว่าปกติครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ ภัยแล้ง ภัยดังกล่าวหลายพื้นที่ขณะนี้กำลังเผชิญ!!

น้ำ ปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ นอกจากใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคแล้วยังใช้ในการเกษตรกรรมด้วย ยิ่งภาวะภัยแล้งที่กำลังเกิดขึ้นส่งผลถึงเกษตรกรที่กำลังเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร การปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย ในช่วงฤดูแล้งจึงเป็นอีกทางเลือกช่วยให้เกษตรกรปลูกพืชผลการเกษตรต่อไปได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่

พืชที่ใช้น้ำน้อย ปลูกหลังฤดูทำนามีหลายชนิดที่มีศักยภาพ ทั้งในด้านการตลาด บางชนิดช่วยปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ก่อนถึงการปลูกข้าวในฤดูที่จะมาถึง อาจารย์ปาริชาติ พรมโชติ ภาควิชาพืชไร่

นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความรู้ว่า การทำนาของเกษตรกรมีทั้งการทำนาปีและนาปรัง นาปี คือนาที่ทำในช่วงฤดูฝนซึ่งช่วงเวลาทำนาในแต่ละภูมิภาคจะไม่ต่างกันมากขึ้นอยู่กับว่า จะเลือกทำนาลักษณะใด นาปักดำ นาหว่านเมล็ด หรือหว่านต้นกล้า ถ้าทำนาดำจะมีเวลาเตรียมกล้าก่อน เช่น ทางภาคเหนือ อีสานบางพื้นที่ซึ่งยังคงทำนาดำอยู่ ก็จะเริ่มเตรียมกล้านับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน จะเริ่มปักดำในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม สิงหาคม สิ้นสุดก็ประมาณช่วงเดือนพฤศจิกายน หรือธันวาคมขึ้นอยู่กับการปลูกช้าหรือปลูกเร็วของเกษตรกร ซึ่งแต่ละที่ฝนจะมาไม่พร้อมกัน

แต่โดยส่วนใหญ่ช่วงเวลาของการทำนาอยู่ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม มิถุนายนกระทั่งถึงพฤศจิกายน ซึ่งบางท้องที่อาจเก็บเกี่ยวช้าออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ข้าว สภาพอากาศฝนมาช้าหรือเร็วเช่นกัน

“ภาคเหนือ ภาคอีสานการทำนาจะเป็นในช่วงเวลาที่กล่าวมา ปลูกข้าวไวแสง ซึ่งต้องการช่วงแสงกระตุ้นให้มีการออกดอก ข้าวส่วนใหญ่จะออกดอกช่วงเดือนตุลาคม ส่วนทางภาคกลางช่วงเวลาการปลูกก็แล้วแต่พื้นที่ ถ้าพื้นที่ไหนไม่มีน้ำชลประทานการปลูกข้าวนาปีจะคล้ายกับทางภาคเหนือ อีสานเป็นช่วงฤดูฝน แต่ข้าวที่ปลูกในภาคกลางส่วนใหญ่จะไม่ใช่ข้าวไวแสง อย่างไรก็ตามการทำนาของเกษตรกรโดยหลักจะเริ่มช่วงพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน”

ส่วนช่วงแล้งมีทั้งหลังจากทำนาปีและก่อนที่ทำนาปี ในช่วงแล้งแรกหลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จกลางพฤศจิกายน ธันวาคมไปจนถึงมกราคม กุมภาพันธ์ ส่วนแล้งที่สองช่วงกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคมก่อนจะเข้าสู่ฤดูฝน โดยพืชที่สามารถปลูกได้ก่อนเข้าสู่ฤดูฝน เริ่มทำนาปีพบว่ามีหลายชนิดที่มีศักยภาพซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่เป็นที่สูง ที่ลุ่ม หรือที่ดอน

ถ้าเป็นที่ลุ่มพื้นที่ภาคกลางหลังจากทำนาปีเสร็จ บางพื้นที่ที่เป็นที่ลุ่มมีน้ำหลากอยู่เกษตรกรอาจไม่สามารถปลูกพืชหลังนาได้ทันที ต้องชะลอการปลูกออกไป ส่วนพื้นที่ที่ไม่มีน้ำขังหลังเกี่ยวข้าวเสร็จอาจมีพืชหลายชนิดให้เลือกก็ขึ้นอยู่กับสภาพอุณหภูมิและพื้นที่

’การเลือกปลูกพืชนอกจากพิจารณาภูมิประเทศแล้วยังต้องดูเรื่องน้ำ บางพื้นที่มีน้ำชลประทานก็ไม่น่าเป็นห่วงเท่ากับที่ที่ไม่มีน้ำชลประทาน น้ำใต้ดิน น้ำที่มาจากบ่อหรือคลองธรรมชาติ ฯลฯ ซึ่งช่วงหน้าแล้งพืชที่ปลูกหลังการทำนาควรเป็นพืชที่มีอายุสั้นมาก ๆ และใช้น้ำน้อย เช่น ถั่วเขียว เป็นพืชที่มีศักยภาพ อายุการเก็บเกี่ยวครั้งแรก 65-75 วัน โดยหลังเกี่ยวข้าวเสร็จเกษตรกรสามารถหว่านเมล็ดถั่วเขียว ขณะที่ผืนดินยังมีความชื้นอยู่ได้ ซึ่งก็พอที่ทำให้ถั่วเขียวเติบโตโดยที่ไม่ต้องมีน้ำชลประทานหรือแหล่งน้ำอื่น

พืชตระกูลถั่วในขณะนี้เริ่มหายไปจากระบบ ในการปลูกถั่วเขียวมองว่ามีช่องทางการตลาดที่ดี ด้วยยังเป็นที่ต้องการ อีกทั้งสามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายไม่ว่าจะนำมาเพาะถั่วงอก อีกทั้งเป็นพืชที่ช่วยบำรุงดินเพิ่มไนโตรเจนในดิน“

งา พืชอีกชนิดที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้น แต่งาต้องการน้ำมากกว่าถั่วเขียวในช่วงระยะแรก งาเป็นพืชอีกชนิดที่พบปลูกน้อย แต่งายังคงเป็นที่ต้องการของตลาด มีความโดดเด่นทนแล้งและอายุสั้น กรณีที่พื้นที่นั้นพอมีแหล่งน้ำ มีน้ำใต้ดินอยู่บ้างก็สามารถเลือกนำมาปลูกงาได้ โดยแนะนำให้ปลูกเป็นแถวเป็นร่องไม่หว่านไปทั่วแปลง  

แต่หากมีน้ำชลประทานสามารถเลือกปลูกพืชได้หลากหลายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพืชผักที่ทานเป็นประจำ เช่น พริก มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว ฯลฯ ซึ่งก็มีข้อโดดเด่นหลายข้อทั้งอายุไม่ยาวมาก ใช้พื้นที่ไม่มาก อีกทั้งพืชผักเหล่านี้การเก็บผลผลิตเก็บได้หลายครั้งซึ่งก็ช่วยให้มีรายได้หมุนเวียนในหน้าแล้ง

ถั่วเหลืองฝักสด บางพันธุ์เป็นพืชอายุสั้นเช่นกัน โดยมากคุ้นเคยกันในชื่อถั่วแระ ถั่วชนิดนี้มีข้อดีคือ ช่วยบำรุงดิน การดูแลก็ไม่ยุ่งยาก โดยถ้ามีความชื้นในดินบ้างก็สามารถเจริญเติบโตได้ถึงช่วงการเก็บเกี่ยว แต่ผลผลิตอาจไม่เหมือนกับการได้รับน้ำอย่างเต็มที่ ส่วนพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์อาจต้องการน้ำมากขึ้น โดยถ้าเกษตรกรพอมีน้ำชลประทานก็สามารถเลือกปลูกพันธุ์ที่ส่งเสริมเป็นทางเลือกได้ แต่ถ้าไม่มีน้ำชล ประทานสามารถเลือกพันธุ์ที่ดูแลง่ายนำมาปลูก โดยข้อเด่นสามารถตัดขายในชุมชนท้องถิ่นได้ เป็นต้น

ข้าวโพดไร่ เป็นอีกชนิดที่เป็นทางเลือกสามารถทนแล้ง แต่ต้องไม่ใช่พันธุ์ลูกผสม แต่การจะปลูกพืชชนิดใดดังที่กล่าวมาก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของเกษตรกร ในการปลูกพืชหลังฤดูทำนาซึ่งหมายถึงหลังเก็บเกี่ยวนาปี พื้นที่ที่พอมีน้ำอยู่บ้างอย่างภาคเหนือตอนล่าง ภาคอีสานช่วงหลังนาเกษตรกรยังนิยม ปลูกใบยาสูบและพืชผักอีกหลายชนิด นอกจากนี้การปลูก ถั่วลิสง พบว่ามีแนวโน้มที่ดีเช่นกัน และเดิมทีปลูกกันในภาคเหนือและภาคอีสาน แต่ขณะนี้พื้นที่ปลูกถั่วหายไปมาก แต่อย่างไรแล้วความต้องการในตลาดยังคงมีอยู่สูง

“ถั่วลิสงที่ปลูกมีทั้งฝักสดและฝักแห้งปลูกได้ทั้งสองรูปแบบ ถ้าปลูกในฤดูแล้งเหมาะกับการปลูกถั่วลิสงฝักแห้ง แต่ถ้าเป็นฤดูฝนเหมาะกับการปลูกถั่วลิสงฝักสด ส่วนทางภาคอีสานปลูกฝักแห้งและการปลูกถั่วสลับแปลงนาพบว่าทำให้แปลงนาอุดมสมบูรณ์ ข้าวงามขึ้นและไม่ว่าจะเป็นการปลูกถั่วหรืองา เกษตรกรยังสามารถเก็บเมล็ดไว้สำหรับปลูกต่อได้ซึ่งเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิต ประหยัดค่าเมล็ดพันธุ์ได้ แต่ทั้งนี้เมล็ดพันธุ์เบื้องต้นจะต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ดี”

พืชใช้น้ำน้อยที่กล่าวมาส่วนหนึ่งนี้นอกจากจะเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรได้เลือกปลูกช่วงแล้ง มีรายได้หมุนเวียนต่อจากการทำนาแล้ว ยังช่วยให้เกิดการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพคุ้มค่าโดยเฉพาะช่วงเวลานี้ที่หลายพื้นที่กำลังประสบภัยแล้ง.

...............................................................................

คุณลักษณะเด่นพืชทนแล้ง

ถั่วเขียว  พืชตระกูลถั่วเปลือกสีเขียว เนื้อเมล็ดสีเหลือง ถั่วเขียวเป็นพืชที่มีอายุสั้นจึงใช้น้ำน้อยกว่าพืชไร่อื่นหลายชนิด และงอกได้เร็วสามารถใช้ในระบบปลูกพืชทดแทน เช่น ข้าวนาปรัง โดยปลูกในพื้นที่ประสบภัยแล้งใช้ปลูกก่อนหรือหลังการทำนาหรือทำไร่  โดยจะช่วยบำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินตรึงไนโตรเจนได้ดี สามารถใช้เป็นปุ๋ยพืชสดให้ปริมาณไนโตรเจนสูง  ถั่วเขียวมีสองชนิด ได้แก่ ถั่วเขียวผิวมัน และถั่วเขียวผิวดำ

ถั่วลิสง จัดอยู่ในกลุ่มพืชที่ผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ภายในประเทศ เพราะถั่วลิงเป็นพืชอาหารที่บริโภคง่าย เป็นส่วนประกอบอาหารหวานคาวต่าง ๆ และเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ฯลฯ ปลูกได้ 3 ช่วง คือ ต้นฤดูฝน กลางฤดูฝน และปลายฤดูฝน รวมทั้งปลูกในฤดูแล้งในนาโดยอาศัยน้ำชลประทาน และปลูกหลังนาโดยอาศัยความชื้นในดิน  

งา พืชไร่น้ำมันที่เสริมรายได้ให้เกษตรกรได้ เนื่องจากลงทุนต่ำ ใช้เวลาปลูกสั้น และทนแล้งได้ดี เกษตรกรนิยมปลูกงาก่อนหรือหลังพืชหลัก งาจึงเป็นพืชที่นิยมในระบบการปลูกพืช อีกทั้งยังเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ เมล็ดงามีคุณค่าทางโภชนาการ

ถั่วเหลืองฝักสด สามารถบริโภคเป็นอาหารว่าง ประกอบอาหารได้หลายชนิด และเป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนในเกณฑ์ดี สามารถปลูกได้ตลอดปี เป็นพืชทางเลือกใหม่เสริมรายได้ให้แก่เกษตรกรในระยะสั้น   

พริก ไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงตั้งแต่ 45-100 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับชนิดของพริกด้วยมีหลายชนิด ใบเป็นใบเดี่ยว ออกดอกตรงกันข้ามลักษณะใบจะกลมรีตรงปลายใบจะแหลม ดอกจะออกตรงง่ามใบ ผลสุกจะเป็นสีแดง ปนน้ำตาลหรือเหลืองส้มแล้วแต่พันธุ์.

ทีมวาไรตี้

ที่มา : เดลินิวส์ >> http://www.dailynews.co.th/Content/Article/218323

 

<< BACK

1 ความคิดเห็น:

madinraad กล่าวว่า...

Play Free Video Slots - Dr.MCD
We provide online video 계룡 출장마사지 slots 양주 출장샵 for you to download, download and stream for free 광주 출장샵 or real money, anytime, anywhere, 원주 출장샵 and will 서울특별 출장샵 keep you entertained!