วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557

นโยบายกรมส่งเสริมการเกษตร ประจำปี ๒๕๕๘

 

กรมส่งเสริมการเกษตร โดย..ท่านอธิบดี โอฬาร พิทักษ์ ได้มีนโยบายปี ๒๕๕๘ ให้ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามระบบ MRCF ต่อเนื่องจากปี ๒๕๕๗ เพื่อให้เกิดผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรม โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเชิงคุณภาพ ดำเนินการให้เชื่อมโยงกับนโยบาย Zoning ของรัฐบาลและของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และให้มี ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร” เป็นกรณีตัวอย่างแต่ละพื้นที่

ในปี ๒๕๕๗ ที่ผ่านมานั้น กรมส่งเสริมการเกษตรมีนโยบายในการปรับระบบการทำงานเพื่อให้เห็นบทบาท ตัวตน และอัตลักษณ์ของนักส่งเสริมการเกษตร ที่ชัดเจนในฐานะของผู้จัดการพื้นที่และผู้นำการเปลี่ยนแปลง ภายใต้แนวคิด  “การเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีที่สุด” หรือ Chang to the Best และได้เริ่มใช้ระบบส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ คือ ระบบ MRCF

ปี ๒๕๕๘ นั้น กรมส่งเสริมการเกษตรได้กำหนดนโยบาย  ๓ ประเด็น คือ…
          ๑. เร่งรัดการดำเนินงานสำคัญตามนโยบาย
          ๒. ขับเคลื่อนระบบ MRCF ให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
          ๓. พัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการองค์กร

ประเด็นที่ ๑ นั้น เร่งรัดการดำเนินงานสำคัญตามนโยบาย
                ๑.๑ จะเร่งรัดงานสำคัญตามนโยบายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รัฐบาล และกระทรวงเกษตร เช่น การช่วยเหลือดูแลเกษตรกร การเพิ่มผลผลิตและพัฒนาคุณภาพการผลิต การจัดตั้งศูนย์บริการประชาชนด้านการเกษตร การปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร การจัดตั้ง “ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร” การส่งเสริมตลาดเกษตรกร (Farmer Market) การพัฒนาศูนย์ข้อมูลเกษตรกรแห่งชาติ ฯลฯ
                ๑.๒ ขยายผลโครงการพระราชดำริ เกษตรกรรมยั่งยืน และเศรษฐกิจพอเพียง
                ๑.๓ บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ
                ๑.๔ ทำงานโดยยึดหลัก “ทำก่อน ทำจริง ทำทันที เกิดผลสัมฤทธิ์ และยั่งยืน” ตามนโยบายรัฐบาล

ประเด็นที่ ๒ ขับเคลื่อนระบบ MRCF ให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
                ๒.๑ พัฒนาระบบบริหารจัดการงานส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ โดยยึดพื้นที่เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา มองภาพ “พื้นที่ – คน – สินค้า” เข้าด้วยกัน และใช้ ระบบ MRCF เพื่อชี้เป้า ให้หน่วยงานอื่น ๆ เข้าไปดำเนินงานในพื้นที่ได้
                ๒.๒ เพื่อบรรลุงานส่งเสริมงานส่งเสริมการเกษตร จึงมุ่งเน้นการดำเนินงาน ๕ Smarts คือ
๑) Smart Officer ๒) Smart Office ๓) Smart Farmer ๔) Smart Group ๕) Smart Product
                ๒.๓ พัฒนาศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร โดยให้สอดคล้อง Zoning
                ๒.๔ พัฒนางานพื้นฐานสำคัญของกรมส่งเสริมการเกษตรให้เกิดผลสำเร็จ เช่น อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) กลุ่มยุวเกษตรกร กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน การบริหารจัดการผลไม้ การใช้ปุ๋ยอินทรียฺและปุ๋ยสั่งตัดเพื่อลดต้นทุนการผลิต และการบริหารจัดการศัตรูพืช

ประเด็นที่ ๓ พัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการองค์กร
                ๓.๑ เพิ่มบทบาทของเขตและศูนย์ปฏิบัติการให้สามารถสนับสนุนการปฏิบัติงานในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                ๓.๒ พัฒนาองค์กรและบุคลากรให้มีสมรรถนะสูงขึ้นและมีขวัญกำลังใจ
                ๓.๓ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการและงบประมาณ
                ๓.๔ ประชาสัมพันธ์ในเชิงรุกเพื่อเสริสสร้างความเข้าใจ เผยแพร่ผลงานและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อสาธารณชน

                                                                         

                                                                                                   ชาญวิทย์ สมศักดิ์
                                                                                   นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ
                                                                                          กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ

 

<< กลับหน้าหลัก

 

ไม่มีความคิดเห็น: